4 วิธีที่เจ้าของธุรกิจเอาชนะความกลัวทางการเงิน
4 วิธีที่เจ้าของธุรกิจเอาชนะความกลัวทางการเงิน
3 กุมภาพันธ์ 2563 | เขียนโดย Pan Pho Team.
เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มักต้องพบเจอกับ ความกลัว ที่เข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจ ซึ่งต้นเหตุนั้นมาจากสภาพทางการเงินของธุรกิจตัวเองที่ไม่แน่นอน แต่คุณรู้หรือไม่? ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณเทคนิคและวิธีการที่ดี
ในทุกๆ 1 นาที บนโลกของเราจะเกิดเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงมากมาย ถ้าเจ้าของธุรกิจสังเกตรอบๆ ตัวคุณ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจ และอื่นๆ ไม่แปลกที่เจ้าของธุรกิจจะรู้สึกหวาดกลัวกับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเงิน
คุณเคยได้ยิน “หลักการพาเรโต” หรือ “กฎ 80% – 20%” บ้างไหม?
อธิบายง่ายๆ คือ เมื่อคุณคิดตั้งตัวเลขในความสำเร็จเป็น 100 % ในส่วนของ 20% เป็นการกระทำเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ซึ่งผลลัพธ์นั้นก็คืออีก 80% นั่นเอง ซึ่งตัวเลข 20% คุณอาจมองว่าเป็นตัวเลขที่น้อย แต่ตัวเลขนี้เป็นส่วนสำคัญมาก
ยกตัวอย่างเช่น ในการทำธุรกิจที่จะได้ผลเติบโตถึง 100% หากคุณมีการจัดการกับความกลัวของคุณเพียง 20% คุณก็จะได้ผลลัพธ์อีก 80% ได้ไม่ยาก จนทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน
T.Harv Eker กล่าวว่า “ถ้าคุณต้องการที่จะเปลี่ยนโลก สิ่งแรกที่คุณจะต้องเข้าใจ คือ ตัวเอง คุณต้องเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเงิน ถ้าคุณไม่เข้าใจอารมณ์ของคุณ คุณก็ไม่สามารถสร้างเงินล้านได้”
ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงหลักการสร้างความสำเร็จและการเอาชนะความกลัวทางการเงินของเจ้าของธุรกิจด้วยวิธีคิดแบบใหม่
4 วิธีที่เจ้าของธุรกิจเอาชนะความกลัวทางการเงิน
วิธีที่ 1 เรียนรู้จากกฎแห่งการสร้างผลลัพธ์ (Law of Result Creation)
มนุษย์มีการแสดงออกทางอารมณ์มากมาย และความกลัวคือ 1 ในนั้นด้วย การที่เจ้าของธุรกิจจะสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ต้องเรียนรู้การควบคุมอารมณ์จากกฎแห่งการสร้างผลลัพธ์ (Law of Result Creation) เพื่อเข้าใจกลไกลในร่างกายของตนเอง
- ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้จะเกิดขึ้นและประสบความสำเร็จได้ ย่อมเกิดจากก้าวแรกเสมอ ในด้านธุรกิจ หากเจ้าของธุรกิจอยากประสบความสำเร็จ ก็ต้องเริ่มจากก้าวแรกเช่นกัน และนั่นก็คือความคิด (Thought) หรือมุมมองต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจของคุณ จนนำไปสู่การสร้างความรู้สึก
- ความรู้สึก (Feeling) เมื่อเจ้าของธุรกิจมีความคิดและมีมุมมองต่อสิ่งที่เข้ามาในธุรกิจของคุณ สมองและจิตใต้สำนึกจะทำให้เจ้าของธุรกิจมีความรู้สึก เช่น รู้สึกตื่นเต้นในการทำธุรกิจกับคู่ค้า รู้สึกกังวลใจว่าจะขาดทุน รู้สึกเครียดเมื่อยอดขายไม่ได้เท่าที่หวัง รู้สึกมีความสุขเมื่อได้ผลกำไรทะลุเป้าหมาย เป็นต้น เมื่อมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นในหัวของคุณก็จะนำเจ้าของธุรกิจไปสู่การกระทำ
- การกระทำ (Action) สิ่งที่เจ้าของธุรกิจลงมือทำหรือแสดงออกเมื่อมีความรู้สึก เช่น เจ้าของธุรกิจรู้สึกเครียดว่าจะสร้างยอดขายไม่ได้เท่าที่หวังก็เกิดการแสดงออกเป็นการร้องไห้ เมื่อเจ้าของธุรกิจรู้สึกดีใจที่ผลกำไรทะลุเป้าก็แสดงออกด้วยการเฉลิมฉลอง เป็นต้น และหลังจากที่เจ้าของธุรกิจได้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปแล้วสิ่งที่ตามมาก็คือ ผลลัพธ์
- ผลลัพธ์ (Result) คือ สิ่งที่เจ้าของธุรกิจจะได้รับหลังจากการลงมือทำหรือแสดงความรู้สึกออกไป ยกตัวอย่าง เมื่อเจ้าของธุรกิจรู้สึกดีใจที่ผลกำไรทะลุเป้าก็จะเฉลิมฉลอง เมื่อคุณเฉลิมฉลองเสร็จ คุณก็จะมีกำลังใจที่จะสร้างรายได้ต่อไป
.
ข้อคิด: เจ้าของธุรกิจจะเห็นได้ว่าผลลัพธ์และการกระทำล้วนมาจากอารมณ์และความคิดทั้งสิ้น อย่างที่ Tony Robbins กล่าวไว้ว่า “คุณภาพของชีวิตเรา จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของอารมณ์” ดังนั้น ถ้าคุณอยากจะเปลี่ยนอารมณ์ คุณก็ต้องเปลี่ยนที่มุมมอง ต้องแยกแยะให้ได้ระหว่าง ความกลัว และ อารมณ์ ออกจากกัน
.
เจ้าของธุรกิจ ควรนำกฎแห่งการสร้างผลลัพธ์มาปรับใช้เพื่อเอาชนะความกลัว ซึ่งข้อดีของความกลัวคือ ทำให้เจ้าของธุรกิจไม่กล้าทำอะไรเสี่ยงๆ เพื่อที่จะรักษาชีวิตของตัวเองไว้ แต่เมื่อความกลัวเข้ามาครอบงำมากเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อเจ้าของธุรกิจเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นความกลัวเกี่ยวกับการเงินด้วยแล้วจะยิ่งทำให้เจ้าของธุรกิจได้รับผลกระทบมากสำหรับการทำธุรกิจ
วิธีที่ 2 สำรวจมุมมองเกี่ยวกับการเงินในอดีตของตัวเอง
ตั้งแต่เด็กจนโต คงมีหลายต่อหลายครั้งที่เจ้าของธุรกิจจะได้ยินคนรอบข้าง หรือครอบครัว คอยพูดหรือฝังหัวเกี่ยวกับเรื่องการเงินตลอดว่า “เงินไม่ได้งอกจากต้นไม้” “คนรวยเป็นคนโลภ” “คนรวยมักเอาเปรียบคนอื่นอยู่เสมอ” หรือแม้กระทั่ง “เงินเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย”
แต่จริงๆ แล้วถ้ามองให้ลึกลงไป คำสอนเหล่านี้อาจเป็นการขีดเส้นจำกัดความสามารถด้านการเงินในตัวคุณ รวมถึงคอยปิดกั้นโอกาสและมุมมองที่จะทำให้เจ้าของธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเงินในทางที่ดีขึ้นด้วย
.
ข้อคิด: มุมมองด้านการเงินเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของวิธีคิด ถ้าเจ้าของธุรกิจมีวิธีคิดที่ผิด ไม่ว่าเจ้าของธุรกิจจะทำอย่างไร พฤติกรรมการเงินของคุณก็จะผิด เช่นเดียวกัน ถ้าเจ้าของธุรกิจคิดว่า เงินทำให้คนโลภและทำให้คุณไม่ต้องการเงิน คุณก็จะไม่มีเงิน แต่จริงๆ แล้วเงินไม่ได้ทำให้คนใดหรือใครโลภไปกว่าเดิม แต่เงินอาจเป็นตัวสะท้อนพฤติกรรมที่แท้จริงของคนนั้นมากกว่า
ดังนั้น ก่อนที่เจ้าของธุรกิจจะเดินไปถึงอนาคต เจ้าของธุรกิจต้องกลับไปดูอดีตของตัวเองก่อนว่า มุมมองและวิธีคิดเกี่ยวกับการเงินของคุณในปัจจุบันของคุณ แท้จริงแล้วมาจากไหนของอดีต และหาทางแก้ไขรวมถึงเปลี่ยนวิธีคิดเสีย เมื่อคุณปลดล็อกความคิดเหล่านี้ได้ คุณก็จะสร้างมุมมองใหม่เกี่ยวกับการเงิน มีเงินเก็บ และเข้าใกล้อิสรภาพทางการเงินมากขึ้น
วิธีที่ 3 กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
เมื่อถามถึงเป้าหมายทางการเงิน เจ้าของธุรกิจมักมีความคิดว่าต้องการเก็บเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ เพราะอยากมีชีวิตที่สุขสบาย จะได้ไม่ต้องทำธุรกิจไปจนแก่ แต่เมื่อถามว่าคุณต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะพอล่ะ? เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มักจะตอบว่า ‘สักล้านสองล้าน’
.
คำว่า ‘สักล้านสองล้าน’ ในที่นี้ เป็นการประมาณการ คาดคะเนตัวเลขขึ้นมาแบบสุ่มๆ เจ้าของธุรกิจก็เก็บเงินโดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงแล้วเป้าหมายที่เขาต้องการเพื่อที่จะออกจากความกลัวนั้นคืออะไร และต้องมีเงินเก็บจริงๆ เท่าไหร่กันแน่ จึงไม่แปลกที่เจ้าของธุรกิจหลายคนจะมีความกลัวที่มาจากความไม่แน่นอน
เพราะเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่พยายามที่จะตั้งเป้าหมายของตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และ สิ่งที่ตามมา คือ เจ้าของธุรกิจไม่รู้ว่าเป้าหมายของตัวเองจะจบลงที่ใด จึงเป็นต้นเหตุทำให้เกิดความกลัว ซึ่งความกลัวแบบนี้ คือ ความกลัวที่เกิดมาจากการไม่รู้ว่าเป้าหมายตัวเองอยู่ตรงไหนนั่นเอง
.
ข้อคิด: ความไม่แน่นอนมักสร้างความกลัวเสมอ เพราะฉะนั้นถ้าเจ้าของธุรกิจต้องการเอาชนะความกลัวทางด้านการเงิน เจ้าของธุรกิจจะต้องสร้างความแน่นอนกับชีวิต ด้วยการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน จริงๆ แล้วเจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายให้ใหญ่โตก็ได้ แค่ไม่ลืมที่จะเดินตามเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยไม่หยุดหย่อน จนกระทั่งประสบความสำเร็จ แค่นั้นก็ทำให้เจ้าของธุรกิจลดความกลัวและมีอิสรภาพทางการเงินได้อย่างแน่นอน
วิธีที่ 4 เจาะลึกและเข้าใจบุคลิกภาพทางการเงินของตัวเอง
เจ้าของธุรกิจเคยสำรวจตัวเองไหมว่ามีวิธีการใช้เงินอย่างไร? เช่น คุณเป็นคนใช้เงินเก่งมาก ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า หรือ เป็นคนที่ไม่รู้จักการซื้อของเลย ได้เงินมาเท่าไหร่ก็เก็บเข้าธนาคารหมด หรือ จะปวดหัวทุกครั้งที่มีใครเปิดประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการเงินขึ้นมา หรือ ชอบนำเงินไปทำบุญทำทาน เป็นต้น
.
จากตัวอย่างข้างต้น สามารถนำมาจำแนกได้เป็นบุคลิกภาพทางการเงิน (Money Personality) 4 ประเภท ประกอบไปด้วย
- Spender คือ กลุ่มคนที่มีความสุขกับการใช้เงิน ใช้เงินเพื่อซื้อความสุขความสบาย หาเงินมาได้ก็มักจะใช้หมด
- Saver คือ กลุ่มคนที่มีความสุขเมื่อเห็นจำนวนเงินเก็บสะสมสูงขึ้นเรื่อยๆ จะรู้สึกร้อนรนถ้าต้องใช้เงินหรือจ่ายเงินเพื่อของไม่จำเป็น
- Avoider คือ กลุ่มคนที่ถ้าหากใครพูดถึงเรื่องเงินคนเหล่านี้จะเดินหนีไปทันที เพราะมองว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องที่น่าปวดหัว
- Monk คือ กลุ่มคนที่มองว่าเงินเป็นของนอกกาย เมื่อมีเงินเยอะก็จะแบ่งให้กับคนอื่นชอบทำบุญมาก
.
ข้อคิด: ทฤษฎีของการจัดหมวดหมู่คนทั้ง 4 ประเภทนี้ หรือที่เรียกว่า “บุคลิกภาพทางการเงิน” (Money Personality) เป็นการบอกว่าแต่ละคนมีมุมมองทางการเงินอย่างไร ซึ่งแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป
เพราะฉะนั้นการที่คุณจะออกจากความกลัวทางการเงินได้คุณต้องรู้และเข้าใจว่าพฤติกรรมทางการเงินของคุณเป็นแบบไหน พยายามเข้าใจวิธีการใช้เงินของตัวเอง และปรับสมดุลพฤติกรรมทางการเงินของคุณให้ได้ เพื่อให้คุณหลุดพ้นจากความกลัวทางการเงินได้ในที่สุด
สุดท้ายนี้ ให้เจ้าของธุรกิจนึกไว้เสมอว่า การมีอิสรภาพทางการเงิน คุณไม่จำเป็นต้องมีเงินเยอะ แต่การมีชีวิตที่คุณเลือกได้ สามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่มีข้อจำกัดของความกลัวเข้ามามีบทบาทในชีวิตคุณ นี่คือความสุขที่แท้จริง
.
หากคุณอยากกำหนดชะตาชีวิตทางการเงินโดยปราศจากความกลัวด้วยตัวคุณเอง พร้อมเรียนรู้เทคนิคการสร้างความสำเร็จทางชีวิตและการเงิน เราขอแนะนำ สัมมนา Millionaire Mind Intensive สัมมนาที่อัดแน่นด้วยความรู้ ประสบการณ์ และเคล็ดลับตลอด 3 วัน ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตและการเงินของคุณไปตลอดกาล >>สนใจกด Banner ด้านล่างได้เลย!
ภารกิจของเราคือ ยกระดับชีวิตผู้คนด้วยความรู้คุณภาพ ผ่านประสบการณ์สัมมนาจากสุดยอดนักพูด เจ้าของธุรกิจ และนักสร้างแรงบันดาลใจแถวหน้า เพื่อสร้างผลัพธ์ด้านธุรกิจ ชีวิต และการเงินให้แก่ผู้คน
- PAN PHO TEAM.