เผย 7 กลยุทธ์สร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในยุควิกฤตเศรษฐกิจ

13 มกราคม 2563 | เขียนโดย Pan Pho Team.

เมื่อการทำธุรกิจไม่เคยสร้างผลกำไรอย่างที่คุณตั้งใจไว้ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

การทำธุรกิจเป็นเรื่องที่คนหลายคนนั้นต่างเบือนหน้าหนี เพราะด้วยความยุ่งยาก ไหนจะหาเงิน ลดค่าใช้จ่าย หาสินค้ามาขาย หรือแม้กระทั่งจัดการการทำงานของคนในองค์กร ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น

ซึ่งนั่นเองทำให้หลายต่อหลายบริษัทนั้นพยายามที่จะลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกิจให้น้อยลงเพื่อทำให้ธุรกิจมีกำไร แต่ถึงอย่างนั้น มันก็อาจจะเป็นสิ่งที่กลับมาทำร้ายธุรกิจของคุณอยู่ก็เป็นได้

คุณเคยสังเกตตัวเองไหมว่าส่วนมากคุณมักจะเสียเวลาทั้งหมดไปกับความกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่าย ไหนจะค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน ค่านู้นค่านี้เต็มไปหมด รวมถึงหนี้สินต่างๆ ที่กู้ยืมมาลงทุน นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณไม่มีเวลาคิดหาวิธีการสร้างรายรับและผลกำไร

ดังนั้น หากคุณอยากให้ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นเป็น 100 เท่า 1,000 เท่า คุณต้องปรับกลยุทธ์ในการดึงดูดลูกค้า เพ่งความสนใจไปที่การสร้างผลกำไรและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เพราะถ้าหากคุณมัวแต่ลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจคุณ คุณจะพบว่าคุณกำลังทำการแช่แข็งธุรกิจของคุณไม่ให้โตอย่างที่คุณตั้งใจไว้

ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาสรุป 7 กลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะช่วยทำให้ธุรกิจของเราเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และสร้างกระแสเงินสดได้อย่างเป็นระบบ

7 กลยุทธ์สร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

1. ริเริ่มความคิดใหม่ไม่เหมือนใคร

หากเปรียบธุรกิจเป็นต้นไม้ การสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จก็เหมือนผลลัพธ์ของการขยันรดน้ำพรวนดิน แต่ต้นไม้จะเติบโตได้ คุณต้องเริ่มจากการเพาะเมล็ดก่อน ซึ่งเมล็ดพันธุ์นั้นคือ Idea หรือ ความคิด วิธีการที่คุณจะสร้างไอเดียใหม่ ๆ ได้

อาจเริ่มจากการมองสิ่งรอบตัวหรือสิ่งที่คนรอบข้างให้ความสนใจ พูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนร่วมงาน สิ่งที่มีแนวโน้มว่าในอนาคตจะเป็นที่ต้องการของตลาด หรือแม้กระทั่งการนำไอเดียที่มีอยู่แล้วมาต่อยอด พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

ยกตัวอย่าง Brian Chesky และ Joe Gebbia เกิดไอเดียการหาเงินในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของอเมริกาปี 2008 โดยการเอาห้องของตัวเองมาปล่อยเช่าราคาถูกให้กับคนแปลกหน้าและกลายเป็น Airbnb ธุรกิจสตาร์ทอัพที่ช่วยให้ผู้ประกอบการทำเงินได้หลายบาทเลยทีเดียว

2. หาเหตุผลในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

เมื่อคุณได้ไอเดียแล้วว่าอยากจะทำอะไร คุณต้องคิดต่อว่าจะทำธุรกิจนี้ไปเพื่ออะไร? เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองหรือเพื่อช่วยเหลือคนอื่นแก้ไขปัญหา เหมือนอย่างที่ Katherine Krug เจ้าของธุรกิจ BetterBack เริ่มไอเดียธุรกิจจากอาการปวดหลังของเธอเมื่อต้องนั่งทำงานนาน ๆ

นอกจากนี้เธอยังคิดว่าธุรกิจ BetterBack สามารถสร้างเม็ดเงินให้กับเธอแน่ๆ เพราะยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องทนทรมานกับอาการปวดหลังเช่นเธอ ธุรกิจ BetterBack ของเธอจึงประสบความสำเร็จและกลายเป็นธุรกิจเงินล้านในที่สุด

3. ตั้งใจผลิตสินค้าให้ตรงตามมาตรฐาน

หลังจากคุณได้ทั้งไอเดียและเหตุผลในการทำธุรกิจแล้ว ‘Product’ หรือตัวสินค้า เป็นสิ่งที่คุณต้องเริ่มมองว่าจะให้ออกมาเป็นอย่างไร เช่น ลักษณะรูปร่าง โดยคิดถึงการออกแบบรูปลักษณ์ที่สวยงาม เพราะรูปลักษณ์ก่อให้เกิดปฏิกิริยาการตอบสนองแบบฉับพลัน

ส่งผลให้ลูกค้าตัดสินใจว่าสินค้านี้ดีหรือไม่ดี  ปลอดภัยหรือไม่  สวยหรือไม่สวย  ชอบหรือไม่ชอบ นอกจากนี้คุณจำเป็นต้องใส่ใจในทุกรายละเอียดทุกขั้นตอนเพื่อให้สินค้าถูกผลิตออกมาได้ตรงตามมาตรฐานที่วางไว้

4. การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อธุรกิจของคุณเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ขั้นตอนต่อไปคือคิดวิธีการว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าของคุณเข้าถึงตัวลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายของคุณ โดยคุณต้องรู้ว่าจุดแข็งและจุดอ่อนของสินค้าคุณคืออะไร

ยกตัวอย่าง เช่น จุดแข็งของสินค้าคุณ คือ เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงมาก ใช้วัสดุอย่างดี จึงกลายเป็นข้อเสียเปรียบในด้านราคาที่แพงกว่าท้องตลาด เพราะกระบวนการผลิตที่ยากและทำให้ส่งผลต่อราคาสินค้านั่นเอง แล้วจะทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อสินค้าของคุณแทนเจ้าอื่น นั่นคือการยื่นข้อเสนอดีๆ ให้ลูกค้า

5. ยื่นข้อเสนอจูงใจลูกค้า

การจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อของคุณแทนเจ้าอื่น มาจากการยื่นข้อเสนอเพื่อจูงใจลูกค้า ไม่อย่างนั้นการสร้างธุรกิจของคุณจะเปล่าประโยชน์ ถ้าไม่สามารถขายสินค้าได้

ดังนั้นเมื่อคุณมีทุกอย่างพร้อมแล้ว  มาถึงขั้นตอนการขาย คุณต้องทำข้อเสนอการขายให้แก่ลูกค้า และในฐานะที่คุณเองก็เคยเป็นผู้บริโภคสินค้าอื่นมาก่อน

คงเข้าใจดีว่าเรื่องของ ‘ราคา’ เป็นเรื่องอ่อนไหวในการซื้อ-ขาย ดังนั้นเมื่อคุณมีการเสนอการขายควรใส่โปรโมชันเป็นทางเลือกแยกเป็นข้อๆ อย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายและตรงกับความต้องการที่สุด

รวมถึงการทำการตลาดที่ต้องเข้าถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของคุณ เช่น โฆษณา Workshop และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้ลูกค้าเกิดแรงจูงใจและสนใจตัวสินค้าและซื้อสินค้าของคุณ

6. ปิดการขายกับลูกค้าให้สำเร็จ

ขั้นตอนของการปิดการขาย เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจก็ว่าได้ เพราะเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะชักชวนให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือร่วมทำธุรกิจกับคุณ แต่จะปิดการขายได้ต่อเมื่อลูกค้าเกิดความสบายใจและไว้วางใจในการใช้สินค้า

ตัวอย่างเทคนิคการปิดการขายที่เป็นที่นิยม คือ การใช้วาทศิลป์ในการขาย พูดถึงประโยชน์ของตัวสินค้า ความจำเป็นและความสำคัญให้เชื่อมโยงกับตัวลูกค้า ผลตอบแทนที่เขาจะได้รับจากการร่วมธุรกิจหรือซื้อสินค้าของคุณ

7. ติดตามผลหลังการขายเพื่อประเมินความพึงพอใจ

การปิดการขายบางอย่างอาจใช้เวลามากกว่าปกติ หรือใช้เวลาหลายปีหลังจากการขาย ซึ่งต้องอาศัยการติดตามการขายเข้ามาช่วยกระตุ้นด้วย หรือถ้าคุณปิดการขายได้สำเร็จ

การติดตามผลหลังการขายเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่คุณต้องทำ อาจจะเป็นการโทรศัพท์หาลูกค้าเพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ว่าลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้าของคุณมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำไปพัฒนาหรือปรับปรุงตัวสินค้าให้ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการสร้างสัมพันธ์อันดี เพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจและสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าว่าธุรกิจของคุณจะให้การดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นอย่างดี

 

การสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่เคยเกิดขึ้นจากปาฏิหาริย์ แต่จะเกิดขึ้นแน่ๆ จากความพยายามของคุณ หากคุณลองปรับธุรกิจตาม 7 กลยุทธ์ของเราแล้ว การสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอาจจะเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าที่คุณคิด และสามารถดึงดูดลูกค้าให้สนใจซื้อสินค้ากับคุณจนขยายกลายเป็นธุรกิจที่เติบโตขึ้นเป็น 100 เท่า 1,000 เท่า

ภารกิจของเราคือ ยกระดับชีวิตผู้คนด้วยความรู้คุณภาพ ผ่านประสบการณ์สัมมนาจากสุดยอดนักพูด เจ้าของธุรกิจ และนักสร้างแรงบันดาลใจแถวหน้า เพื่อสร้างผลัพธ์ด้านธุรกิจ ชีวิต และการเงินให้แก่ผู้คน

- PAN PHO TEAM.

บริษัทสัมมนาความรู้เพื่อความสำเร็จอันดับ 1 ของไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก